เมนู

3. กุรุงควรรค



1. กุรุงคมิคชาดก



ว่าด้วยกวางกุรุงคะ



[21] ดูก่อนไม้ระริน การที่ท่านปล่อยผลให้ตกกลิ้ง
มานั้น เราเป็นกวางรู้แล้ว เราจะไปสู่ไม้มะรื่นต้นอื่น
เพราะเราไม่ชอบใจผลของท่าน.

จบกุรุงคมิคชาดกที่ 1

3. อรรถกถากุรุงควรรค



1. อรรกถากุรุงคมิคชาดก



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน ทรงปรารภพระเทวทัต
จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ คำเริ่มต้นว่า ญาตเมตํ กุรุงฺคสฺส ดังนี้
ความพิศดารว่า สมัยหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งประชุมกันในโรงธรรมสภา
นั่งกล่าวโทษของพระเทวทัตว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตประกอบ
นายขมังธนู เพื่อต้องการปลงพระชนม์พระตถาคตกลิ้งศิลา ปล่อยช้างธนปาลกะ
ตะเกียกตะกายเพื่อจะปลงพระชนม์ของพระทศพล แม้ในกาลทั้งปวง. พระ-
ศาสดาเสด็จมาแล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ตกแต่งไว้แล้ว ตรัสถามว่า ภิกษุ
ทั้งหลายบัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ ? ภิกษุทั้งหลายกราบ

ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายนั่งสนทนากันด้วยเรื่องการกล่าว
โทษของพระเทวทัตว่า พระเทวทัตตะเกียกตะกายเพื่อปลงพระชนม์ของพระ-
องค์. พระศาสดาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พระเทวทัตตะเกียกตะกายเพื่อจะฆ่า
เราในบัดนี้ เท่านั้นหามิได้ แม้ในกาลก่อนก็ตะเกียกตะกายเหมือนกัน ก็แต่ว่าไม่
สามารถจะฆ่าเราได้ แล้วทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในพระนครพาราณสี
เป็นกวางเคี้ยวกินผลาผลทั้งหลายในราวป่าแห่งหนึ่ง. ในคราวหน้า กวางนั้นกิน
ผลมะรื่นที่ต้น มะรื่นอันมีผลสะพรั่ง. ลำดับนั้น มีพรานนั่งห้างชาวบ้านคนหนึ่ง
พิจารณารอยเท้าเนื้อทั้งหลายแล้ว จึงผูกห้างบนต้นไม้แล้วนั่งบนห้างนั้น เอา
หอกแทงพวกเนื้อที่มากินผลไม้ แล้วขายเนื้อของเนื้อเหล่านั้นเลี้ยงชีวิต วันหนึ่ง
พรานนั้น เห็นรอยเท้าของพระโพธิสัตว์ที่โคนต้นไม้นั้น จึงผูกห้างบนต้นมะรื่น
นั้นแล้ว บริโภคอาหารแต่เช้าตรู่ แล้วถือหอกเข้าป่าขึ้นไปยังต้นไม้นั้นแล้วนั่ง
ห้าง. ฝ่ายพระโพธิสัตว์ก็ออกจากที่อยู่แต่เช้าตรู่มาด้วยหวังว่าจักกินผลมะรื่นแต่
ไม่ได้ผลุนผลันเข้าไปที่โคนต้นไม้นั้น คิดว่า บางคราวพวกพรานนั่งห้างจะผูก
ห้างบนต้นไม้ อันตรายเห็นปานนี้ มีไหมหนอ จึงได้ยืนพิจารณาอยู่แต่ภายนอก
ฝ่ายนายพรานรู้ว่าพระโพธิสัตว์ไม่มา นั่งอยู่บนห้างนั่นแหละ โยนผลมะรื่นให้
ตกลงล้างหน้าพระโพธิสัตว์นั้น. พระโพธิสัตว์คิดว่า ผลเหล่านี้มาตกลงข้างหน้า
เรา เบื้องบนต้นไม้นั้น มีนายพรานหรือหนอ เมื่อแลดูบ่อย ๆ ก็เห็นนายพราน
แต่ทำเป็นไม่เห็นพูดว่า ต้นไม้ผู้เจริญ เมื่อก่อนท่านให้ผลไม้ทั้งหลายตกลง
ตรง ๆ เหมือนเขย่าผลที่ห้อยอยู่ฉะนั้น บัดนี้ท่านละทิ้งรุกขธรรมเสียแล้ว เมื่อ
ท่านละทิ้งรุกขธรรมเสียอย่างนี้ เราจักเข้าไปยังโคนต้นไม้แม้ต้นอื่น แสวงหา
อาหารของเรา แล้วจึงกล่าวคาถานี้ว่า

แน่ะไม้มะรื่น การที่ท่านปล่อยผลไม้ไห้กลิ้งมา
นั้น เราผู้เป็นกวางรู้แล้ว เราจะไปสู่ไม้นะรื่นต้นอื่น
เพราะเราไม่ชอบใจผลของท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ญาตํ ได้แก่ ปรากฏ คือเกิดแล้ว.
บทว่า เอตํ โยคว่า กรรมนี้. บทว่า กุรุงฺคสฺส แปลว่า เนื้อชนิดกวาง.
บทว่า ยํ ตฺวํ เสปณฺณิ เสยฺยสิ ความว่า ดูก่อนต้นไม้มะรื่นผู้เจริญ
การที่ท่านปล่อยให้ผลกลิ้งตกลงข้างหน้า คือได้เป็นผู้มีผลกระจายมานั้น ทั้ง
หมดเกิดเป็นสิ่งลามกสำหรับเนื้อกวาง. ด้วยบทว่า น เม เต รุจฺจเต นี้
กวางกล่าวว่า เราไม่ชอบใจผลของท่านผู้ให้ผลอยู่อย่างนี้ ท่านจงหยุดเถิด
เราจักไปที่อื่น ดังนี้ ได้ไปแล้ว.
ลำดับนั้น นายพรานทั้งที่นั่งอยู่บนห้างนั่นแล พุ่งหอกไปเพื่อพระ-
โพธิสัตว์นั้นแล้วกล่าวว่า ท่านจงไปเถิด บัดนี้เราเป็นคนผิดหวังท่าน. พระ-
โพธิสัตว์หันกลับมายืนกล่าวว่า บุรุษผู้เจริญ แม้บัดนี้ท่านผิดหวังเราก็จริง แต่
ถึงกระนั้นท่านจะไม่ผิดหวังมหานรก 8 ขุม อุสสทนรก 16 ขุม และกรรมกรณ์
ทั้งหลายมีการจองจำ 5 ประการเป็นต้น ก็แหละครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วก็ได้ไป
ตามชอบใจ ฝ่ายนายพรานลงมาแล้วไปตามความชอบใจ.
แม้พระศาสดาก็ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัตตะเกียกตะกายเพื่อ
จะฆ่าเราในบัดนี้ เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อน ก็ตะเกียกตะกายแล้วเหมือน
กัน ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาสืบอนุสนธิแล้วทรงประชุมชาดกว่า นาย
พรานนั่งห้างในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัต ส่วนกวางในครั้งนั้นได้เป็น
เราแล.

จบกุรุงคมิคชาดกที่ 1

2. กุกกุรชาดก



ว่าด้วยสุนัขที่ถูกฆ่า



[22] สุนัขเหล่าได้อันบุคคลเลี้ยงไว้ในราชสกุล เจริญ
ในราชสกุล สมบูรณ์ด้วยสีสันและกำลัง สุนัขเหล่านี้
นั้นไม่ถูกฆ่า พวกเรากลับถูกฆ่า นี้ชื่อว่าการฆ่าโดย
ไม่แปลกกันก็หาไม่ กลับชื่อว่าการฆ่าแต่สุนัขทั้งหลาย
ที่ทุรพล.

จบกุกกุรชาดกที่ 2

2. อรรถกถากุกกุรชาดก



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร ทรงปรารภการประพฤติ
ประโยชน์แก่พระญาติ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า เย กุกฺกุรา
ดังนี้. การประพฤติประโยชน์แก่พระญาตินั้น จักมีแจ้งในภัททสาลชาดก
ทวาทสนิบาต. ก็พระศาสดาทรงตั้งเรื่องนี้แล้วทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี
พระโพธิสัตว์ทรงอาศัยกรรมเห็นปานนั้น บังเกิดในกำเนิดสุนัข ห้อมล้อมด้วย
สุนัข มิใช่น้อยอยู่ในสุสานใหญ่. อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาเสด็จขึ้นทรงรถเทียม
ม้าสินธพขาว ประดับด้วยเครื่องประดับทั้งปวง เสด็จไปยังพระอุทยาน
ทรงเล่นในพระอุทยานนั้น ตลอดส่วนภาคกลางวัน เมื่อพระอาทิตย์อัสดง จึง